วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 2 เรื่องโปรเเกรมคอมพิวเตอร์

        1.โปรเเกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษComputer program) เป็นชุดคำสั่ง[1] ที่ปฏิบัติงานเฉพาะเมื่อคอมพิวเตอร์สั่งกระทำการ (execute) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการใช้โปรแกรมในการสั่งงาน และกระทำตามชุดคำสั่งในหน่วยประมวลผลกลาง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเขียนโดยนักเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรม คอมไพเลอร์สามารถแปลงรหัสเครื่อง (machine code) ที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้โดยตรงได้จากรหัสต้นฉบับ (source code) แบบมนุษย์อ่านได้ หรืออีกทางหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้ด้วยอินเทอร์พรีเตอร์
วนหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระทำงานงานหนึ่งที่นิยามไว้อย่างดี เรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คลัง (library) และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียกว่าซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจจัดประเภทได้จากฟังก์ชันยาวหลายบรรทัด เช่น โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ระบบ
2. ประเภทของโปรเเกรมคอมพิวเตอร์
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโอเอส
ระบบปฏิบัติการหรือเรียกสั้นๆ ว่า OS เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำ หน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ เช่น การแสดงผลข้อมูล การติดต่อกับผู้ใช้โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ ควบคุมและจัดแบ่งทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่างๆ ตัวอย่าง โปรแกรมโอเอสยอดนิยมในปัจจุบันเช่น Windows XP, Windows Vista
2. โปรแกรมประยุกต์ Application
โปรแกรมโอเอสมีหน้าที่หลักๆ ก็คือเป็นตัวควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ แต่ถ้าต้องการทำ อะไรต่อมิอะไรมากไปกว่านั้น ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมที่ทำงานเฉพาะด้านลงไป เช่น ต้องการดูหนัง ก็ต้อง ลงโปรแกรมดูหนัง ต้องการฟังเพลง MP3 ก็ต้องลงโปรแกรม Winamp เป็นต้น
3.ยกตัวอย่างโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ มา 3โปรเเกรม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Firefox


Mozilla Firefox คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ที่ใช้สำหรับเปิดเว็บไซต์โดยมีทีม Mozilla เป็นผู้พัฒนา และยังเป็น (Open source browser) ที่สามารถให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกพัฒนาโปรแกรมเสริมเพื่อใช้ร่วมกับ Mozilla Firefox ได้อีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน Internet เป็นอย่างมาก ความนิยมของผู้ใช้ทั่วโลกใกล้เคียงกันกับ Google Chrome เพราะมีความปลอดภัยสูง การเปิดหน้าเว็บเพจทำได้อย่างรวดเร็ว มีโปรแกรมเสริมมากมาย เช่นเดียวกันกับ Google Chrome
Google Chrome for Android Icon 2016.svg


กูเกิล โครม (อังกฤษGoogle Chrome) เป็นซอฟต์แวร์เว็บเบราว์เซอร์ พัฒนาโดยกูเกิล เปิดตัวครั้งแรกในปี 2008 โดยยังรองรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ก่อนจะออกโปรแกรมให้กับ ลินุกซ์แมคโอเอสไอโอเอส และ แอนดรอยด์ ในภายหลัง กูเกิล โครม ยังเป็นองค์ประกอบหลักของ โครม โอเอส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน้าจอหลักสำหรับการเรียกใช้เว็บแอป
กูเกิล โครม เป็นตัวพัฒนาจากโค้ดของโครงการโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ โครเมียม ซึ่งใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่คนละสี[6] โดยจะมีองค์ประกอบหรือคุณสมบัติบางอย่างที่ถูกเพิ่มเข้าไปเช่นการฝัง อะโดบี แฟลชเพลเยอร์ ลงไปในโครม (ซึ่งปัจจุบันนั้นกูเกิล โครมได้ปิดกั้นองค์ประกอบนี้แล้ว) ปัจจุบัน กูเกิล โครมพัฒนาโดยใช้ Blink เป็นเรนเดอริงเอนจินหลักสำหรับวาดหน้าจอ ยกเว้นเพียง ไอโอเอสที่ยังใช้เว็บคิตเป็นเรนเดอริงเอนจินหลัก


วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 1 เรื่อง ภาษา c

ใบงานที่ 1 เรื่อง ภาษา c
1.ความหมายของภาษา c 
   ภาษา c คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Opearating System) แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี   เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต compiler ภาษาซีออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป

2. โครงสร้างภาษา c
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาซี

          การเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ก็จะมีโครงสร้างของตัวภาษาอยู่ภาษาซีก็เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนหัว(Header) ส่วนประกาศตัวแปร(Declaration) และส่วนคำสั่ง(Body) 

ส่วนที่ 1 ส่วนหัว (header)

            ส่วนหัวเป็นส่วนที่ระบุซีคอมไพเลอร์เตรียมการทำงานที่กำหนดในส่วนนี้ไว้ โดยหน้าคำสั่งจะมีเครื่องหมาย # ตัวอย่าง

          # include <stdio.h>

          หมายถึง เป็นการระบุให้นำไฟล์ stdio.h มารวมกับไฟล์นี้ เพื่อที่จะสามารถใช้คำสั่งที่อยู่ในไฟล์นี้มาใช้งานได้

            # define START 0

          หมายถึง เป็นการกำหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปร START โดยให้มีค่าเป็น 0

            # define temp 37

          หมายถึง เป็นการกำหนดให้ตัวแปร temp มีค่าเท่ากับ 37

ส่วนที่ 2 ประกาศตัวแปร (Declaration)

          ส่วนประกาศตัวแปร เป็นการกำหนดชนิดข้อมูลที่จะใช้ในโปรแกรม ซึ่งตัวแปร หรือข้อมูลต่างๆนั้นจะถูกประกาศ(Declare) ในส่วนนี้ก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมได้ดังตัวอย่าง

            int stdno;

            หมายถึง เป็นตัวกำหนดว่าตัวแปร stdno เป็นชนิดข้อมูลจำนวนเต็ม integer ซึ่งอาจได้แก่ค่า 0,4,-1,-3,...เป็นต้น

            float score;

          หมายถึง เป็นการกำหนดว่าตัวแปร score เป็นข้อมูลชนิดเลขมีจุดทศนิยม(floating point) ซึ่งอาจมีค่า 0.23, 1.34, -21.002,….เป็นต้น

ส่วนที่ 3 ส่วนตัวคำสั่ง (Boddy) 

          ส่วนตัวคำสั่ง คือส่วนของโปรแกรม โดยจะต้องเริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main () แล้วใส่เครื่องหมายกำหนดขอบเขตเริ่มต้นของตัวโปรแกรมคือ { หลังจากนั้นใส่คำสั่งหรือฟังก์ชันต่างๆโดยแต่ล่ะคำสั่งหรือฟังก์ชันนั้นๆ จะต้องปิดด้วยเครื่องหมาย ; เมื่อต้องการจบโปรแกรมให้ใส่เครื่องหมาย } ดังตัวอย่าง

            main  ()

            {        /*เริ่มต้นโปรแกรม*/

          คำสั่งต่างๆ ;

            ฟังก์ชั่น ;

....................

.....................

}/*จบโปรแกรม*/

3. ตัวอย่างภาษา c
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวอย่างภาษาซี